หญ้าหวาน
รายละเอียด
หญ้าหวานคือสมุนไพรชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะคล้ายต้นใบกะเพรา ใบสมุนไพรหญ้าหวานมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเฉกเช่นเดียวกับในใบชาเขียว แต่มีมากกว่าคือรสหวานจัด ตัวใบจะให้รสหวานกว่าน้ำตาล 15-20 เท่า แต่เมื่อนำใบมาสกัดจะให้ความหวานสูงถึง 250 เท่าของน้ำตาลทรายแต่ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นที่นิยมในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีที่ผู้คนนิยมบริโภคแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาลหรือทดแทนน้ำตาลบางส่วนมากว่า 35 ปีแล้วทั้งในอาหารและเครื่องดื่มได้แก่ น้ำชาเขียว น้ำอัดลม ขนมเบเกอรี่ ไอศกรีม แยม เยลลี่ ซอสปรุงรส ลูกอม หมากฝรั่ง และอื่นๆ ในบ้านเราคนทางภาคเหนือจะรู้จักสมุนไพรหญ้าหวานเป็นอย่างดีในรูปแบบชาชงสมุนไพรหญ้าหวานดื่มเพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่และยังมีการนำใบสมุนไพรหญ้าหวานแห้งมาใส่ในอาหารขณะปรุงเพื่อทดแทนน้ำตาลและผงชูรส จึงเหมาะสมมากสำหรับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน
หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร. พิสมัย กุลกาญจนาธร
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หวานเป็นรสที่คนขาดไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก จึงเลือกบริโภคเครื่องดื่มโดยพิจารณาสารปรุงแต่งรสหวานที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันมาสนใจใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์มากขึ้น
หญ้าหวาน
เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้งประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 - 300 เท่า และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร
สารให้ความหวานจากหญ้าหวานเป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นความหวานที่ปราศจากแคลอรี่ และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย เพราะเมื่อรับประทาน ร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันทีไม่มีการสะสม จึงเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน ที่ยังต้องการรสหวานในอาหารและเครื่องดื่ม
รูปแบบของหญ้าหวานที่คนนิยมรับประทานกันมี 2 แบบคือ นำใบหญ้าหวานมาผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานเป็นชาสมุนไพร ยาชงสมุนไพรต่างๆ หรืออาจใช้ในรูปของสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผงสำเร็จรูปบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหารต่างๆ
มารู้จักกับพืชและสารสกัดจากหญ้าหวานกันเถอะ
หญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยมีการใช้ใบหญ้าหวานผสมกับชาดื่มมานานกว่า 1500 ปีแล้ว หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20 - 26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 - 700 เมตร มีการนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมคือทางภาคเหนือ และบริเวณเขาใหญ่ หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา หากมีการปลูกไว้ในบริเวณบ้านเป็นพืชผักสวนครัวจะมีประโยชน์มาก เพราะใบสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำก็จะให้สารหวานใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดี
นอกจากนี้มีงานวิจัยพบว่ากากหญ้าหวานที่ผ่านการสกัดสารหวาน(ที่พัฒนาเป็นผงแห้งบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหาร) ยังคงมีความหวาน สามารถใช้ทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานในเครื่องดื่มชาชงได้ ซึ่งบรรจุเป็นถุงสำเร็จพร้อมชงดื่มได้ทุกช่วงเวลา ดื่มได้ง่าย ช่วยดับกระหาย จากการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน ผสมอัญชัน มะลิ กระเจี๊ยบแดง และเตยหอม พบว่าชากากหญ้าหวานผสมมะลิซึ่งประกอบด้วยกากหญ้าหวาน 250 มิลลิกรัม และ มะลิ 80 มิลลิกรัม เป็นสูตรที่มีสี กลิ่น และรสชาติเป็นที่น่าพึงพอใจที่สุด ซึ่งการพัฒนาหาสูตรผสมที่ถูกใจเฉพาะบุคคลก็ทำได้ง่าย ลองทำดูนะคะ
สำหรับสารสกัดจากหญ้าหวานจะนำเสนอต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- Cradello HM., Silva MD. And Damasio MH. Measurement of the relative sweetness of stevia extract, aspartame and cyclamate/saccharin blend as compared to sucrose at different concentrations. Plant Foods for Human Nutrition. 1999; 54:119-130.
- Goyal SK., Samsher. andGoyal RK. Stevia (Stevia rebaudiana) a bio-sweetener: a review. International Journal of Food Sciences and Nutrition. 2010;61(1):1-10.
- Kroyer G. Stevioside and Stevia-sweetener in food: application, stability and interaction with food ingredients. J.Verbr.Lebensm. 2010;5:225-229.
- Rajab R., Mohankumar C., Murugan K., Harish M. and Mohanan PV. Purification and toxicity studies of stevioside from Stevia rebaudianaBertoni.Article. 2009;16(1):49-54.
- วิภา วชิรตรีรัตน์, เอมวิกา วงษ์ฟูเกียรติ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน [โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตรบัณทิต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
-
รายละเอียด ผักเชียงดา ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า GYMNEMA INODORUM DECNE เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่ปลูกตามท้องถิ่นทางภาคเหนือปลูกมากในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่โดยปลูกเป็นพืชผักสวนครั...
-
รายละเอียด เตย(Pandanus Palm) หรือบางครั้งเรียก เตยหอม เป็นพืชที่นิยมใบมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมาก เนื่องจากใบมีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายข้าวใหม่ ซึ่งช่วยปรับแต่งกลิ่นของอาหารให้น่ารับประ...
-
รายละเอียด อบเชย (Cinnamomum verum) ได้จากเปลือกไม้ของพืชพื้นเมืองขนาดเล็กในเอเชีย เครื่องเทศชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณทางยา มากว่า 5,000 ปี และจัดได้ว่าเป็นยาธรรมชาติเก่าแก่ที...
-
รายละเอียด เจียวกู้หลาน (Gynostemma pentaphyllum) เจียวกู้หลานธรรมชาติ-เจียวกู้หลานป่าจากเชียงใหม่ เจียวกู้หลานบำรุงป้องกันรักษาร่างกายให้แข็งแรง Gynostemma pentaphyllum , also c...
-
รายละเอียด เห็ดหลินจือ (Ling Zhi, Reishi) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma lucidum เป็นยาจีนชั้นสูง ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี ได้รับการบันทึกไว้สรรพคุณไว้ใน ตำรา “เสิ...
-
รายละเอียด ถั่งเช่า – ถั่งเฉ่า หรือ (ตังถั่งแห่เช่า/ตังถั่งเช่า) “หญ้าหนอน” เป็นสมุนไพรที่แพร่หลายมากในประเทศจีนและชาวเอเชีย พบในทิเบต มณฑลชิงไห่ มณฑลเสฉวน มณฑลกานซู มณฑลยุนนาน แ...
-
รายละเอียด กระเจี๊ยบแดง(อังกฤษ:Roselle) ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปูจังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยวเป็นพ...
-
รายละเอียด คาโมมายล์เป็นพืชในวงค์เดียวกับ ดาวเรือง ดาวกระจาย (Asteraceae หรือ Compositae) มีสองสายพันธุ์คือ เยอรมันคาโมมายล์ (Matricaria recutitaL. หรือChamomilla recutitaL. หรือMa...
-
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียดกรุณาใส่ข้อความ …
-
รายละเอียด เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด...